สมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ต้องนึกถึง กานพลู กลิ่นหอมที่นิยมใช้เป็นเครื่องเทศ ในการประกอบอาหาร และมีการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างมากมาย กานพลูเป็นสมุนไพรที่เชื่อว่ายังมีคนบางกลุ่มที่ไม่เคยรู้จัก
ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักรายละเอียดต่างๆ และประโยชน์ของ กานพลู มีดังนี้
กานพลูมีลักษณะอย่างไร
ต้นกานพลูเป็นไม้ยืนต้น มีความสูง 5-10 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีต่อมน้ำมันมาก ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ใบกานพลูเป็นใบเดี่ยว ยาว1-3 เซนติเมตรเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใยจำนวนมาก ดอกกานพลูออกดอกเป็นช่อสั้นๆ มีสีเขียวอมเหลืองและมีสีแดงประปราย กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลของการกานพลูเป็นผลเดี่ยวรูปไข่กลับแกมรูปรี เมื่อผลแก่จะมีสีแดงเข้ม

ความเป็นมาของกานพลูในประเทศไทย
ต้นกานพลูในประเทศไทยมีการปลูกไม่มาก บางเฉพาะท้องถิ่น กานพลูถูกใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นสมุนไพรที่ทีความต้องการสูง จึงทำให้ในประเทศไทยมีไม่เพียงพอ จึงต้องมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ มีการนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก ประเทศอื่นๆมีน้อย ส่วนมากคนในทวีปเอเชียใช้กานพลูเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค แต่ในทวีปตะวันตกใช้กานพลูในการแต่งกลิ่นอาหารและใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเครื่องสำอางต่างๆ
สารสำคัญที่มีอยู่ในกานพลู
กานพลูมีสารสำคัญต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นสมุนไพร และการรักษาโรคต่างๆดังนี้ มีน้ำมันหอมระเหย ที่ระเหยง่าย มีสารชื่อ ยูจีนอล เป็นองค์ประกอบหลัก เป็นสารสำคัญที่ใช้ในทันตกรรม บรรเทาอาการปวดฟัน กานพลูยังมีสารสำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แล้วยังมีสารอื่นๆอีกมากมาย ที่ดีต่อสุขภาพจึงเป็นยาสมุนไพรที่นำมาใช้กันจนถึงปัจจุบัน
ประโยชน์ของกานพลู
- ดอกและผลของกานพลูนำมาใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหารเพื่อให้กลิ่นหอม
- ใบการพลูช่วยการเผาผลาญแคลอรี่ ลดความอยากน้ำตาล สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ใช้นำมันที่กลั่นจากดอกกานพลู พันปลายสำลีอุดรูที่ปวดฟัน หรือนำดอกกานพลูมาเคี้ยวแล้วอม บริเวณฟันที่ปวดสามารถบรรเทาอาการปวดได้
- ดอกกานพลูช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
- ดอกตูมช่วยรักษาโรคหืดหอบ แก้อาการท้องเสีย แก้อาการไอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ขับเสมหะ ขับน้ำคาวปลา ขับลมในลำไส้
- น้ำมันกานพลู ใช้มาแต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสบู่ แต่งกลิ่นยาสีฟัน
- เพิ่มน้ำนมให้กับหญิงให้นมบุตรและบำรุงระบบไหลเวียนของเลือด
- ช่วยระงับกลิ่นปาก
- ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
- บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หน้ามืด ตาลาย

วิธีการนำกานพลูมาใช้ได้อย่างไรบ้าง
- ต้มดอกกานพลูแห้ง 7-8 ดอก ต้มแล้วนำน้ำมาดื่ม บรรเทาอาการท้องอืดได้ หรือการนำดอกกานพลู 1 ดอก แช่ไว้ในน้ำร้อนที่ใช้ผสมนมให้ทารกดื่ม ป้องกันอาการท้องอืดท้องเฟ้อของทารกได้
- ทำน้ำกานพลูดื่ม การทำน้ำกานพลูดื่มโดยผสมสมุนไพรต่างๆลงไปด้วยเช่น เกลือ หรือมะนาว เมื่อดื่มแล้วทำให้รู้สึกชุ่มคอ สามารถบรรเทาอาการไอ หากจิบตลอดทั้งวัน และทำให้ดีต่อสุขภาพ
- นำมาใส่เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำกานพลูใส่ลงไปในอาหารจะทำให้รสชาติของอาหารเผ็ดร้อน เมนูที่นิยมใส่กานพลู เช่น ขาหมูอบกานพลู พะโล้แบบปีนัง ฉู่ฉี่ปลาทับทิม
- เคี้ยวกานพลูแก้ปวดฟัน เคี้ยวกานพลูบริเวณที่ปวดฟัน จะบรรเทาอาการปวดฟันได้
- ตำกานพลูผสมกับเหล้าขาว นำสำลีชุบแล้วไปอุดบริเวณที่ฟันที่ปวด
- อมดอกกานพลู 2-3 ดอกไว้ในปาก ช่วยดับกลิ่นปากและกลิ่นเหล้าได้
ข้อควรระวังในการใช้กานพลู
น้ำมันกานพลูสมุนไพรสารพัดประโยชน์หากใช้โดยขาดความรู้หรือใช้มากเกินไปอาจเกินอันตรายได้ดังนี้
- ดอกกานพลู ไม่ควรใช้ในหญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เพราะมีสารบางอย่างที่จะสะสมในร่างกายจะส่งผลให้เป็นอันตรายต่อเด็กทารก
- กานพลูมีสารที่ออกฤทธิ์ในการต้านเกล็ดเลือด ทำให้เกร็ดเลือดแข็งตัว ระวังการใช้ร่วมกับสมุนไพรที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ
- หากนำกานพลูมาเคี้ยวเป็นประจำติดต่อกันนานเกินไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเหงือก และระคายเคืองกับเยื่อบุในช่องปาก
- น้ำมันกานพลู หากใช้ในปริมาณที่มากจนเกิดไปและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
กานพลู สมุนไพรที่มีจุดเด่นในเรื่อง ของการให้ความหอม แถมยังสามารถรักษากลิ่นปากและอาการปวดฟันได้ดี จึงเป็นสมุนไพรที่ให้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ากับการรักษาอาการต่างๆดังที่ได้กล่าวมา