ถ้าพูดถึงอันดับอาหารไทยที่โด่งดังไกลไปทั่วโลกของไทยคงหนีไม่พ้น ต้มยำกุ้ง ส้มตำ แต่เมื่อเร็วๆสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้มีการจัดอันดับสุดยอดอาหารเด็ด จากทุกมุมโลก ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นครัวของโลกนั้นก็ไม่พลาดที่คว้าอันดับ 1 สุดยอดอาหารเด็ดของโลก นั่นก็คือแกงมัสมั่น ที่เราคุ้นเคยกันตั้งแต่เด็กๆ ถึงขนาดที่ตอนเป็นเด็กทุกคนต้องเคยท่องโคลงกลอน มัสมั่นแกงแก้วตา… แต่จะเป็นมัสมั่นที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่ได้เลยถ้าขาดเครื่องเทศอย่าง “กระวาน” คนทั่วโลกสนใจทำแกงมัสมั่น ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำความรู้จักกับกระวาน เช่นเดียวกัน ถ้าเราพิจารณาแล้วเราจะเห็นว่าสามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกระวานเลยทีเดียว เช่น ราก ผล ดอก รวมทั้งการปลูกและดูแลรักษาก็ง่ายแสนง่าย แถมยังเป็นสมุนไพรพืชเศรษฐกิจส่งออกต่างประเทศ นำรายได้เข้าประเทศหลายล้านบาทต่อปี
มีอะไรใน “กระวาน”
- พลังงานต่อ100กรัม 370กิโลแคลอรี่
- ไขมัน 6กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 70กรัม
- โปรตีน 10กรัม
- แคลเซียม 15มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 20มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 12มิลลิกรัม
- วิตามินบี1 0.12มิลลิกรัม
สรรพคุณของกระวาน

เราสามารถใช้ประโยชน์จากกระวานได้แทบทุกส่วน เริ่มที่ส่วนแรกก่อนคือ ราก
: นำมาต้ม ใช้รักษาโรคเกี่ยวเหงือกและฟัน นอกจากนั้นยังช่วยในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยปรับสมดุลเลือดลม ใช้ดีท็อกซ์ร่างกาย และละลายเสมหะในผู้ที่มีอาการไอ
หัวและหน่อ:
นำมาจิ้มกับน้ำพริก จะกินสดๆหรือลวกก็ได้ หรือนำมาผัดกับพริกแกงเผ็ดก็ขึ้นชื่ออยู่ นอกจากนี้ยังสมารถช่วยเป็นยาถ่ายพยาธิด้วย และหัวใช้ฝนทาแก้งูสวัดได้
เปลือก :
นำมาต้มสามารถลดไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้เลือดไหลเวียนดี บำรุงธาตุในร่างกายรักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน ขับเสมหะ
แก่น:
ใช้รักษาอาการเลือดเป็นพิษ โดยการขับพิษออกจากร่างกาย
ใบ :
รักษาอาการของโรคทางเดินอาหาร เช่น แน่นท้อง ช่วยขับลม อาหารไม่ย่อย จุกเสียด ท้องเฟ้อ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวไวจากการเป็นไข้ไม่สบาย,ร่างกายอ่อนแอ และรักษาอาการโรครำมะนาด ใช้รักษาโรคลมสันนิบาต บำรุงกำลัง
กระพี้ :
รักษาโรคผิวหนัง และบำรุงเลือดลม ทำให้มีกำลัง
เมล็ด :
รักษาอาการโรคทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ลมในกระเพาะเยอะ ท้องผูกหรือโบราณเรียกว่าอุจจาระพิการ เมล็ดจะใช้แก้ธาตุพิการได้ รวมถึงช่วยปรับลำไส้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
เหง้า:
นำเอาเหง้าของกระวานมาอบให้แห้ง สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอย่าง เช่น สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) อีโคไล (E.coli) ที่ทำให้เราท้องเสีย ถ่ายท้อง และเชื้อราแคนดิดา (Candida albicans) ซึ่งเป็นเชื้อรา ส่วนใหญ่พบในกระเพาะปัสสาวะผู้หญิงหรือช่องคลอด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กทำให้ลดอาการอาเจียน และมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
ลูกกระวาน :
นอกจากจะช่วยโรคทางเดินอาหาร ขับลม อาหารไม่ย่อย ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ มากไปกว่านั้น ลูกกระวานยังสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยโดยกลิ่นที่ได้เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาไทยแผนโบราณอีกด้วย การบูรหรือcamphor เป็นส่วนประกอบหลักๆของน้ำมันหอมระเหยของลูกกระวาน นอกนั้นก็จะมาสาร ไพนิน (pinene), ลิโมนีน (limonene) และเมอร์ซีน (myrcene) ซึ่งมีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะน้ำมันหอมระเหยจากลูกกระวานช่วยยับยั้งการดูดกลับน้ำตาลกลูโคส และช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อินซูลินช่วยกำจัดน้ำตาลในกระแสเลือด แต่ทำงานได้ไม่ดีนักในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลินจึงเป็นเรื่องจำเป็นในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้อินซูลิน ลูกกระวานจึงเป็นสมุนไพรอีกอย่างนึงที่ควรแนะนำแก่คนไข้เบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการรักษาโรค น้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดกระวานยังช่วยบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดี นอกจากนี้สาร cineole ที่อยู่ในลูกกระวาน ยังช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ไม่ให้มีปัญหาในโรคทางเดินอาหาร สารกลุ่มเทอร์ปีน และ diterpene peroxide มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum เป็นต้น
ทำความรู้จักกระวาน

*รูป ชื่อสามัญ: Siam Cardamom
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amomum krevanh Pierre
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: Cardamom หรือ Camphor Seed สำหรับคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีชื่อเรียกที่หลากหลายชื่อ เช่น ข่าโคก, กระวานดำ, กระวานขาว, กระวานแดง, กระวานจันทร์, กระวานโพธิสัตว์ เป็นต้น
แหล่งกำเนิดของกระวานมาจาก ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียและศรีลังกา ในประเทศไทยขึ้นชื่อของการปลูกกระวานคือในจังหวัดจันทบุรีหรือเมืองจันท์ ซึ่งถือเป็นของฝาก ของดีขึ้นชื่อของจังหวัดเลย ด้วยเชื่อว่าตามลักษณะดิน ภูมิศาสตร์ ความชื้น เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกระวานได้เป็นอย่างดี ทำให้กระวานที่ได้มีกลิ่นหอมที่โดดเด่นกว่าภาคอื่นๆในประเทศไทย
เมนูอาหารที่มีกระวาน ดังไกลไปทั่วโลก
แกงมัสมั่นไก่ ไทยแท้ เมนูสุดฮิตของคนต่างชาติ หอม เข้มข้น

พริกแกงมัสมั่นมีส่วนประกอบดังนี้
– เครื่องเทศ 8 ชนิด
ได้แก่ เครื่องเทศ 8 ชนิด ได้แก่ ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ กานพลู ลูกผักชี ยี่หร่า อบเชย พริกไทย ลูกกระวาน
นำเครื่องเทศทั้งหมดไปคั่วให้หอม
หอมแดงและกระเทียมหั่นเป็นชิ้นเล็กนำไปเจียว
ใส่เครื่องเทศที่ตำไว้ลงไป จะได้พริกแกงมัสมั่น
จัดเป็นพริกแกงมี่มีกลิ่นหอมมาก มาจากกลิ่นดอกจันทร์และลูกจันทร์และลูกกระวาน
เครื่องปรุง
– ไก่บ้าน – พริกแกงมัสมั่น – กระเทียม – ขิงแก่ – รากผักชี – กะปิ – ลูกกระวาน – ใบกระวาน – ถั่วลิสงป่น – ถั่วลิสงเม็ด
– มันฝรั่ง – หอมใหญ่
เครื่องปรุงรส
– น้ำตาลปึก – เกลือ – น้ำส้มมะขามเปียก ไก่ หอมใหญ่ มันฝรั่ง ขิงแก่ กระเทียม รากผักชี ตำให้ละเอียด ถั่วลิสง 2 ถ้วย
ลูกกระวาน ใบกระวาน
หอมใหญ่นำไปทอดในน้ำมันก่อน ทอดพอผิวสุก เอากระเทียม กะปิ รากผักชีโคลกให้ละเอียด นำไปผัดกับน้ำมันให้หอมเสร็จแล้วใส่พริกแกงมัสมั่นลงไปผัดให้เข้ากัน ได้กลิ่นหอมใส่ถั่วลิสง ผัดให้เข้ากัน แล้วเติมหัวกะทิลงไป รอให้แกงมัสมั่นเดือด เติมไก่ลงไป ผัดให้เข้ากัน พอไก่สุกเติมหางกะทิที่เหลือลงไปให้หมด รอให้แกงมัสมั่นเดือดอีกครั้ง เติมใบกระวาน ลูกกระวาน เพื่อให้มีรสชาติและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของแกงมัสมั่น
เติมถั่วลิสงคั่ว มันฝรั่ง ตามลำดับ
– ปรุงรสเปรี้ยวด้วย น้ำมะขามเปียก
– ปรุงรสหวานด้วย น้ำตาลปีป
– ปรุงรสเค็มให้ปรุงด้วย เกลือ ไม่ควรใช้น้ำปลาเนื่องจากทำให้เสียรสชาติ
ชิมให้มี สามรสคือ รสเค็ม หวาน เปรี้ยว ไม่เด่นรสใดรสหนึ่งโดด